LineID : @hivetechthailand
  • Open Hour 09:30 - 17:00 Mon-Fri
  • (+66) 061-580-0095 Hivetech Thailand
HEPA ULPA Filter
จากปัญหามลพิษทางอากาศ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น อาการภูมิแพ้หรือโรคหอบหืด ตัวกรองอากาศอากาศ หรือที่เราเรียกว่า Filter จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการช่วยรักษาสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยให้กับผู้อยู่อาศัย ซึ่งตัวกรองอากาศที่เรารู้จักส่วนใหญ่คือ HEPA Filter แต่ยังมีตัวกรองอากาศอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า ULPA Filter

แล้ว HEPA กับ ULPA Filter มีความแตกต่างกันอย่างไร ?
ตัวกรอง HEPA และ ULPA ได้รับการออกแบบมาเพื่อกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กมากทั้ง 2 ชนิด แต่ที่แตกต่างกันคือ ประสิทธิภาพในการกรองไม่เท่ากันนั่นเอง

- HEPA Filter(High Efficiency Particulate Air) หรือ ตัวกรองอนุภาคฝุ่นที่มีประสิทธิภาพสูง มีประสิทธิภาพในการกรองอนุภาคขนาด 0.3 µm อยู่ที่ 99.995% จัดอยู่ใน ISO Class 5

- ULPA Filter(Ultra Low Particulate Air) หรือ ตัวกรองอนุภาคต่ำพิเศษ มีประสิทธิภาพในการกรองอนุภาคขนาด 0.1 µm อยู่ที่ 99.9995% จัดอยู่ใน ISO Class 3 [Read More...]


คาร์บอนไดออกไซด์ CO2
โดยปกติการหายใจมนุษย์ คือการรับก๊าซออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงเซลล์ของร่างกายผ่านเลือด ซึ่งจะมีการเผาไหม้เกิดขึ้นภายในเซลล์ การเผาไหม้นี้จะทำให้เกิดผลผลิต 2 อย่างคือ
1. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) : จะถูกคายออกมาผ่านช่องปากและจมูก,
2. น้ำ : ถูกนำไปใช้ในร่างกายต่อ ส่วนที่เหลือจะถูกขับออกทางการหายใจ เหงื่อ และปัสสาวะ

นั่นหมายความว่าร่างกายมีการคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ออกมาเมื่อมีการหายใจออกนั่นเอง

ในขณะเดียวกัน ด้วยสภาพอากาศของบ้านเราเป็นประเทศเขตร้อน ประกอบกับบางพื้นที่มีปัญหาเรื่องฝุ่นควัน ทำให้การใช้ชีวิตของเราหลาย ๆ คนต้องอยู่ในห้องแอร์เป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงานหรือที่บ้าน รวมถึงห้องที่เราใช้นอนตลอด 6-10 ชั่วโมง ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นห้องปิด ไม่มีระบบถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม

เมื่อนำเรื่องการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เราคายออกมา โยงกับการอยู่ที่พื้นที่ปิด นั่นหมายความว่าจะมีการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) เกิดขึ้นอย่างแน่นอน คำถามคือ แล้วการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ปริมาณเท่าใดจึงจะมีผลกระทบต่อร่างกายของเรา ??? [Read More...]


Positive Pressure
ระบบแรงดันบวก หรือ Positive Pressure คือการเติมอากาศจากภายนอกที่ผ่านการกรองแล้วเข้ามาภายในห้องปิดเรื่อย ๆ จะทำให้ห้องมีแรงดันสะสมเพิ่มขึ้นจนมากกว่าแรงดันภายนอกห้องนั่นเอง ซึ่งข้อดีของระบบ Positive Pressure ก็คือ
1. ช่วยเพิ่มอ๊อกซิเจนภายในห้อง
2. ช่วยดันฝุ่นขนาดเล็กออกตามช่องต่าง ๆ เช่น รูของประตู หน้าต่าง
3. ช่วยดันก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)ออกตามช่องต่าง ๆ เช่น รูของประตู หน้าต่าง ทำให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ไม่สะสมในห้อง (ในกรณีห้องมีความซีลมาก ๆ ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) อาจไม่ลด
4. ช่วยสร้างแรงดันห้องให้เป็นบวก ทำให้ฝุ่นภายนอกไม่สามารถเล็ดลอดเข้ามาได้ เนื่องจากในห้องมีแรงดันมากกว่าภายนอก [Read More...]


การคำนวณค่า CFM calculate
ACH ย่อมาจากคำว่า "Air Change per Hour" คือการ "ถ่ายเท" หรือ "หมุนเวียน" อากาศ เป็นจำนวน 1 เท่า ของปริมาตรห้อง ใน 1 ชั่วโมง เรียกว่า 1ACH ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ในการคำนวณอัตราการ "ถ่ายเท" หรือ "หมุนเวียน" ที่เหมาะสมภายในห้อง นั้นคือการคำนวณค่า CFM (Cubic Foot per Minute) หรือ "ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที" นั่นเอง ว่าเราควรจะมีค่าเท่าไหร่เหมาะสมกับห้องของเรา [Read More...]


PM2.5 กับกลไกการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
เมื่อมีการหายใจรับเอาอนุภาคขนาดเล็กมาก (Ultrafine particles (UFPs)) หรือในที่นี้หมายถึง PM2.5 เข้าสู่กระแสเลือด มีโอกาสเป็นพิษสะสมและอาจมีการฝังตัวในผนังของเส้นเลือด UFPs จะทำให้กระตุ้น oxidative stress และการอักเสบในบริเวณนั้นทําให้เกิดพลากเกาะผนังหลอดเลือด(atherosclerotic plaque instability) และในที่สุดจะทําให้เกิดลิ้มเลือดในเส้นเลือดส่งผลให้การไหลของกระแสเลือดไม่สะดวกไปจนถึงอุดตันได้และยังพบการเต้นผิดจังหวะของหัวใจในสัตว์ทดลองซึ่งถูกฉีดอนุภาคขนาดเล็กมาก (Ultrafine Particles : UFPs) เข้าสู่กระแสเลือด โดยผลจากการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ inotropic effect ของ UFPs นี้จะมีอันตรายต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ ซึ่งจะทําให้มีความต้องการออกซิเจนมากขึ้นและกระตุ้นอาการหัวใจขาดเลือด [Read More...]


PM2.5 ผลกระทบต่อระบบการหายใจ
ปัญหาจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)
เป็นปัญหาที่สําคัญของประเทศไทย เนื่องจากยังคงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ทุกปีและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมากส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล พื้นที่ตําบลหน้าพระลาน จังหวัดสระบุรี และพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางบางพื้นที่ในช่วงฤดูแล้งของทุกปี ซึ่งสาเหตุมาจากปัญหาไฟป่าและการเผาในที่โล่ง เช่น การเผาเศษวัชพืชและเศษวัสดุทางการเกษตร การจราจร ภูมิประเทศและภาวะความกดอากาศสูงทําให้เกิดสภาวะอากาศปิด จึงทําให้ความรุนแรงของปัญหาเพิ่มขึ้น [Read More...]