LineID : @hivetechthailand
  • Open Hour 09:30 - 17:00 Mon-Fri
  • (+66) 061-580-0095 Hivetech Thailand

อันตรายจากการสะสม CO2 ในห้องปิด

คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ CO2

อันตรายจากการสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ในห้องปิด

โดยปกติการหายใจมนุษย์ คือการรับก๊าซออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงเซลล์ของร่างกายผ่านเลือด ซึ่งจะมีการเผาไหม้เกิดขึ้นภายในเซลล์ การเผาไหม้นี้จะทำให้เกิดผลผลิต 2 อย่างคือ
1. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) : จะถูกคายออกมาผ่านช่องปากและจมูก,
2. น้ำ : ถูกนำไปใช้ในร่างกายต่อ ส่วนที่เหลือจะถูกขับออกทางการหายใจ เหงื่อ และปัสสาวะ

นั่นหมายความว่าร่างกายมีการคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ออกมาเมื่อมีการหายใจออกนั่นเอง

ในขณะเดียวกัน ด้วยสภาพอากาศของบ้านเราเป็นประเทศเขตร้อน ประกอบกับบางพื้นที่มีปัญหาเรื่องฝุ่นควัน ทำให้การใช้ชีวิตของเราหลาย ๆ คนต้องอยู่ในห้องแอร์เป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงานหรือที่บ้าน รวมถึงห้องที่เราใช้นอนตลอด 6-10 ชั่วโมง ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นห้องปิด ไม่มีระบบถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม

เมื่อนำเรื่องการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เราคายออกมา โยงกับการอยู่ที่พื้นที่ปิด นั่นหมายความว่าจะมีการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) เกิดขึ้นอย่างแน่นอน คำถามคือ แล้วการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ปริมาณเท่าใดจึงจะมีผลกระทบต่อร่างกายของเรา ??? ลองมาดูตารางด้านล่างนี้กัน

คาร์บอนไดออกไซด์ CO2
ตารางแสดงระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ตามเกณฑ์มาตรฐานของ ASHRAE 62.1-2010
Credit : งานวิจัยคุณภาพของสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จากตารางด้านบนจะเห็นว่าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ที่เหมาะสมต่อร่างกาย ไม่ควรมีค่าเกิน 1,000 ppm แต่จากงานวิจัยและจากการทดลองวัดค่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ทั้งที่โรงเรียน ที่ทำงาน บ้าน รวมถึงห้องนอนที่เป็นห้องปิด พบว่าเกือบทั้งหมดมีค่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) สะสมเกิน 1,000 ppm นั่นแสดงถึงอันตรายที่อยู่ใกล้เรามาก ๆ แต่เราไม่เคยทราบมาก่อน

วิธีที่จะช่วยลดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) นั่นก็คือจะต้องมีการถ่ายเทอากาศภายนอกเข้ามาและเอาอากาศภายในห้องออกไป เช่นการเปิดหน้าต่าง เป็นต้น แต่ในบางพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องฝุ่นควัน การเปิดหน้าต่างจะไม่สามารถทำได้ เพราะจะทำให้มีฝุ่นเข้ามาภายในห้อง ซึ่งมีอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดปัญหาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) สะสมและลดปัญหาฝุ่นภายในห้องได้ นั่นก็คือการทำ ระบบ "Positive Pressure" นั่นเอง